วิธีติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์

กรณีที่รถยนต์มีฟิล์มเก่าติดตั้งมา นอกจากขั้นตอนการติดฟิล์มกรองแสงใหม่แล้ว จะต้องมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นในส่วนของการ “ลอกฟิล์ม - เคลียร์กาวฟิล์มเก่า” ให้หมดจดเสียก่อน
(และถ้าเป็นกระจกบานหลังจะต้องมีการหมักกาวฟิล์มอีกด้วย เพื่อป้องกันอันตรายกรณีลวดไล่ฝ้าอาจเสียหาย) ขั้นตอนสำหรับการจัดการฟิล์มเก่าทั้งหมด มีดังนี้ครับ

1. ลอกฟิล์มรถยนต์เก่าออก

สำหรับขั้นตอนนี้ไม่ซับซ้อนมาก ท่านสามารถใช้มือเปล่า โดยใช้เล็บค่อยๆ สะกิดขอบฟิล์มออกจากผืนกระจก (คล้ายๆ กับการลอกสติ๊กเกอร์ครับ) จากนั้นก็ค่อย ๆ ดึงฟิล์มรถยนต์เก่า
ให้แยกออกจากกระจก เทคนิคคือการเริ่มแคะออกจากมุมด้านใดด้านหนึ่ง แล้วดึงเข้าหาศูนย์กลางของผืนกระจก
(ในกรณีฟิล์มเก่าและเสื่อมคุณภาพมากๆ แผ่นพลาสติก TPU อาจกรอบและฉีกขาดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย ทำให้การลอกฟิล์มค่อนข้างลำบากและใช้เวลานานขึ้นมาก) การลอกฟิล์ม
ด้วยวิธีนี้สามารถใช้ได้เฉพาะกับฟิล์มบานกระจกหน้า และบานข้างเท่านั้น ไม่ควรใช้การดึงฟิล์มโดยตรงกับกระจกบานหลังเด็ดขาด เพราะลวดไล่ฝ้าอาจหลุดขาดออกมาพร้อมแผ่นฟิล์มได้

2. ฉีดน้ำยาลอกกาวแล้วใช้ใบมีด ค่อยๆ ขูดคราบกาวออกจากกระจก

หลังจากลอกฟิล์มเก่าออก จะมีคราบกาวเหลือติดอยู่บนกระจก ให้ใช้น้ำยาลอกกาวฉีดทั่วบานกระจก เพื่อเป็นตัวช่วยละลายกาวให้อ่อนนุ่ม ขูดออกได้ง่าย แล้วค่อยๆ ใช้คัทเตอร์ขูดออก
โดยการใช้ใบมีดทำมุมเอียงกับกระจกประมาณ 30 องศา แล้วค่อย ๆ ลงน้ำหนักเบาๆ ขูดกาวออกจากกระจก ระวังอย่าลงน้ำหนักมือ หรือทำใบมีดมุมองศามากเกินไป เพราะอาจ ขูดผิว
จนทำให้กระจกเป็นรอยได้
 นอกจากนี้ควรระวังใบมีดขูดไปโดนขอบยาง หรือสะกิดโดนสีรถเป็นรอยได้ จึงต้องระวังขั้นตอนนี้ให้มาก ๆ ด้วย

 

สำหรับช่างติดฟิล์ม มักจะใช้แผ่นไลเนอร์ฟิล์มที่เหลือใช้จากการติดตั้งฟิล์มกรองแสง มาใช้เป็นวัสดุสำคัญในการหมักกาวครับ แต่ถ้าหากท่านไม่มีเศษฟิล์มไลเนอร์ ก็สามารถนำถุงดำ
ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วๆ ไป มาใช้ทดแทนได้

ก่อนลอกฟิล์มกระจกหลัง ทำไมต้องหมักกาวก่อน?

สำหรับกระจกบานหลังที่มีเส้นไล่ฝ้าติดมากับกระจก ทำให้ไม่สามารถลอกฟิล์มออกจากกระจกได้ทันที เพราะเสี่ยงต่อการทำให้เส้นไล่ฝ้าขาด เสียหาย จึงมีขั้นตอนการหมักกาว
เพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อช่วยให้การลอกฟิล์มทำได้ง่ายขึ้น โดยมีขั้นตอนทั้งหมดดังนี้ 
  • ตัดเศษไลเนอร์1 จากแผ่นฟิล์มให้พอดีกับกระจกบานหลัง
สำหรับช่างติดฟิล์ม มักจะใช้แผ่นไลเนอร์ฟิล์มที่เหลือใช้จากการติดตั้งฟิล์มกรองแสง มาใช้เป็นวัสดุสำคัญในการหมักกาวครับ แต่ถ้าหากท่านไม่มีเศษฟิล์มไลเนอร์ ก็สามารถนำ
ถุงดำที่ใช้ในครัวเรือนทั่วๆ ไป มาใช้ทดแทนได้
  • ฉีดน้ำบนกระจกบานหลัง ด้านที่ติดฟิล์มเดิม 

ฉีดน้ำสะอาดให้ทั่วผืนกระจก เพื่อให้เป็นชั้นความชื้นกักเก็บอุณหภูมิระหว่างขั้นตอนการหมักกาว และทำให้กาวอ่อนตัวได้ง่ายขึ้น

โดยวางให้ขอบแต่ละด้านเสมอกับผืนกระจกที่เราตัดไว้ในขั้นตอนแรก แล้วใช้มือค่อยๆ ประกบให้เนื้อไลเนอร์แนบชิดกับผืนฟิล์มเดิมที่ติดอยู่บนกระจกหลังด้านในครับ
หัวใจสำคัญของการหมักกาวคือความร้อนครับ โดยท่านสามารถใช้แหล่งกำเนิดความร้อนได้ 2 วิธี ได้แก่ 1) เป่าไอร้อนที่กระจกด้านนอก จนกระจกมีความอุ่นทั่วทั้งผืนแล้วทิ้งไว้
30 - 90 นาที2 หรือ 2) นำรถไปจอดตากแดดนาน 3 ชั่วโมง 
สำหรับผู้ใช้รถทั่วไปที่อยากลองหมักกาว เราแนะนำวิธีที่ 2 เพราะทำได้ง่ายกว่ามากๆ ในขณะที่วิธีแรก ต้องอาศัยประสบการณ์ในการกะประมาณความร้อนบนกระจกให้ดี หากทำ
โดยผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ กระจกหลังมีสิทธิ์แตก ได้ครับ

ในขั้นตอนนี้ จะดึงแผ่นไลเนอร์ออกก่อนแล้วค่อยๆลอกฟิล์มเก่าออกช้าๆ ห้ามกระชาก ในขณะที่ลอกฟิล์มให้ใช้เทคนิคเหมือนกับกระจกบานอื่นๆ ครับ ค่อยๆดึงจากมุมกระจกเข้าหาศูนย์กลาง
ผืนกระจกช้าๆ และให้ ระวังเส้นไล่ฝ้ากระจกหลังขาด ในขั้นตอนนี้ด้วยนะครับ

ขั้นตอนนี้ดูเหมือนจะง่าย แต่อยากฝากให้ทุกท่าน “ใจเย็นๆ” ครับ ค่อยๆ ขัด ค่อยๆ ถูคราบกาวออกจากกระจกหลังอย่างอ่อนโยน เนื่องจาก “เส้นไล่ฝ้ากระจกหลัง” มีโอกาสฉีกขาดสูงใน
ขั้นตอนนี้เช่นกัน ถึงแม้รถญี่ปุ่นจะได้เปรียบเรื่องความทนทานของเส้นไล่ฝ้ามากกว่ารถยุโรปเล็กน้อยก็ตาม แต่ก็ไม่ควรประมาทครับ

เพียงเท่านี้ก็ถือว่าขั้นตอนการหมักกาวเสร็จสิ้นแล้ว สามารถเข้าสู่ขั้นตอนถัดไปของการติดตั้งฟิล์มได้ครับ หากเป็นช่างติดฟิล์มที่ชำนาญแล้วก็อาจจัดการขั้นตอนนี้จน
เสร็จได้ภายในระยะเวลา 1.5 - 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นมือใหม่ก็เผื่อเวลาไว้สำหรับการหมักกาวและลอกกาวโดยเฉพาะสัก 3-4  ชั่วโมงขึ้นไป  นะครับ

3. ใช้น้ำยาล้างเล็บเช็ดคราบกาวออกอีกครั้ง

ถึงแม้ว่ากระจกจะได้รับการขัดคราบกาวด้วยใบมีด หรือแผ่นไนลอนขาวบางในขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ตามก็อาจยังมีเศษคราบกาวเก่าหลงเหลืออยู่ได้ เพื่อให้กระจกสะอาด
หมดจดก่อนติดฟิล์มใหม่ ให้ใช้กระดาษทิชชู่ ชุบด้วยน้ำยาล้างเล็บปราศจากสารแอมโมเนีย (ภาษาช่างจะเรียกกันว่า “น้ำยาเขียว”) ทำความสะอาดเช็ดคราบกาวออกจากกระจกรถ
อีกครั้งหนึ่ง

4. ทำความสะอาดกระจกอีกครั้งก่อนติดตั้งฟิล์ม

โดยการใช้เกียงพลาสติกขัดกับน้ำเปล่า ล้างคราบกาวฟิล์มเดิม ฝุ่นละออง หรือเศษสักหลาด ที่อาจยังหลงเหลือบนผิวกระจกให้สะอาดอีกครั้ง ก่อนทำการติดตั้งฟิล์มใหม่ บนกระจก
ในขั้นตอนต่อไป ที่เรากำลังจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไปครับ

 

 

วิธีติดฟิล์มรถยนต์ (กรณีติดใหม่/ลอกฟิล์มเก่าแล้ว)

หลังจากนำรถไปล้างทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว ทีนี้เรามาดูมาดูวิธีติดฟิล์มกระจกรถยนต์กันต่อครับ อาจจะมีบางบานที่มีวิธีพิเศษเฉพาะตัว แต่เดี๋ยวเราจะค่อยๆ ทยอยเจาะลึกกัน
ในส่วนถัดไป พร้อมแล้วตามมาดู 12 ขั้นตอนติดฟิล์มฉบับมือโปร กันเลย

1. วัดขนาดกระจกแต่ละบานที่จะทำการติดตั้ง

วัด Size ของกระจกแต่ละบาน ทั้งความกว้างและความสูงของกระจก ไม่ว่าจะเป็น กระจกบานหน้า, บานข้าง, บานหลัง รวมถึงกระจกซันรูฟ (Sunroof) ที่อยู่ด้านบน (ถ้าหากมี)
เพื่อให้ทราบขนาดของฟิล์มที่จะต้องตัดออกจากม้วนใหญ่อย่างเหมาะสมครับ

2. ปูผ้าขนหนูบริเวณคอนโซล และที่พักแขน

เนื่องจากการติดตั้งฟิล์มกรองแสง เป็นการติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่ต้องใช้น้ำระหว่างติดตั้ง การปูผ้าขนหนูแบบนี้ก็เพื่อไว้ช่วยซับน้ำแชมพูส่วนเกินที่เกิดขึ้นระหว่างติดตั้งฟิล์ม และยังช่วยป้องกัน
ระบบไฟฟ้า และกลไกอิเล็กทรอนิคส์ของรถยนต์ให้ปลอดภัย ไม่ให้มีน้ำขังอีกด้วยครับ (ผ้าขนหนูและชุดคลุมเบาะ - พวงมาลัยในภาพตัวอย่าง ออกแบบมาเพื่อใช้กับการติดฟิล์ม
เฉพาะที่ศูนย์ติดตั้งฟิล์มวีซีเทค เอ็กซ์คลูซีฟช้อปโดยเฉพาะ ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป)

3. เตรียมแผ่นฟิล์มสำหรับติดตั้งบนกระจกรถยนต์

นำขนาดของกระจกที่วัดได้แต่ละบาน (จากขั้นตอนที่ 1) มาตัดแบ่งฟิล์มเป็นชิ้นใหญ่แยกออกมาจากม้วนฟิล์ม เพื่อเตรียมนำไปตัดขนาด ตามแบบบนกระจกรถของจริงในลำดับต่อไป

4. ทำความสะอาดกระจก

ถึงแม้จะมีการล้างรถมาแล้ว แต่ก่อนจะนำแผ่นฟิล์มมาติดตั้ง ก็ต้องมีการทำความสะอาดบานกระจกกันเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อฟิล์มเกิดความเสียหายจากการเสียดสีกับเม็ดฝุ่นที่
อาจติดอยู่บนกระจกครับ ซึ่งจะเป็นการฉีดน้ำยา Film-On แล้วใช้ยางรีดน้ำออกอีกครั้งหนึ่งนั่นเอง

5. การเป่าแป้งเตรียมพื้นผิว (เฉพาะกรณีฟิล์มดูดติดกับกระจกหน้ามากๆ)

สำหรับขั้นตอน การเป่าแป้ง!  ถือว่าเป็นเคล็ดไม่ลับ ที่ช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตระหว่างฟิล์มกับกระจกบานหน้าครับ โดยจะเป่าลงบนกระจกด้านนอก เพื่อที่เวลาวางฟิล์มทาบลงบนกระจกแล้ว ฟิล์มไม่ดูดติดกับ
กระจกหน้า และแป้งจะเป็นตัวช่วยให้การเลื่อนตำแหน่งของแผ่นฟิล์มบนกระจกได้สะดวกขึ้น 
แต่วิธีการนี้มีข้อเสียคือ เม็ดฝุ่นแป้งอาจปนเปื้อนขณะติดตั้งฟิล์มได้ ฉะนั้นปัจจุบันช่างติดฟิล์มส่วนใหญ่จะไม่นิยมใช้วิธีการเป่าแป้งกันสักเท่าไหร่ (ยกเว้นถ้ากระจกบานหน้าของรถรุ่นนั้นๆมีคุณสมบัติดูดฟิล์มมาก
และเป็นกระจกแผ่นใหญ่มากๆที่ยากต่อการเลื่อนฟิล์ม ก็อาจยังจำเป็นต้องใช้วิธีนี้)

6. ตัดแบบฟิล์มให้เท่ากับบานกระจกจริง

เป็นการนำฟิล์มที่ตัดเตรียมไว้มาวางทาบบนกระจกจริง เมื่อจัดตำแหน่งฟิล์มจนเข้าที่แล้ว ช่างติดฟิล์มจะทำการตัดขอบให้ฟิล์มมีขนาดเท่ากับผืนกระจกรถจริง โดยวิธีในการตัดมีอยู่ 2 เทคนิคด้วยกัน คือ
เทคนิคนี้เหมาะกับมือใหม่ เพราะก่อนตัดฟิล์มเราสามารถวาดแบบบนแผ่นไลเนอร์บนกระจกจริงได้ก่อน จากนั้นมาทาบตัดกับชิ้นฟิล์มกรองแสงที่เตรียมไว้ครับ
เทคนิคนี้คือวิธีการตัดสำหรับช่างติดฟิล์มที่มีชั่วโมงบินสูงเท่านั้น เพราะสามารถตัดขอบได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำในการลงใบมีดเพียงครั้งเดียว ในขณะเดียวกันก็ต้องใช้ฝีมือเฉพาะตัวของช่างค่อนข้างสูง เพราะ
หากกรีดฟิล์มพลาด ฟิล์มก็จะเสียทันที แล้วต้องเริ่มใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนแรก
นอกจากนี้หากกรีดแรงเกินไป ใบมีดก็อาจขูดกับขอบยาง หรือเนื้อกระจกเป็นรอยได้ เพราะฉะนั้น หากฝีมือไม่ชำนาญจริงๆ (โดยเฉพาะนักเรียน YouTube มือใหม่) ไม่ควรเสี่ยงทำเป็นอย่างยิ่งครับ

7. เป่าฟิล์มด้วยเครื่องเป่าลมร้อน (เฉพาะบานหน้า - บานหลัง)

เนื่องจากเนื้อฟิล์มจะมีความหนาและแข็งประมาณหนึ่ง จึงไม่สามารถลอกกาวแล้วแปะติดลงกระจกลงไปได้ตรงๆ เหมือนการแปะสติ๊กเกอร์ตัวการ์ตูนตกแต่งนะครับ (ฮ่าๆๆ) เพราะบานกระจกจากโรงงานผู้ผลิตรถยนต์
มักจะมีความโค้งเว้าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของรถแต่ละรุ่น 
จึงเป็นที่มาของการใช้ตัวช่วยอย่าง ‘เครื่องเป่าลมร้อน’ หรือไดร์เป่าลมร้อน Hot Air Gun (คนละอย่างกับไดร์เป่าผมนะครับ) เครื่องนี้จะให้ลมร้อนที่คงที่ สม่ำเสมอ และช่วยทำให้เนื้อฟิล์มมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
ซึ่งจะช่วยให้ช่างติดฟิล์มสามารถดัดเนื้อฟิล์มให้มีความโค้งรับกับผิวกระจกได้ดีขึ้นช่วยให้ติดฟิล์มได้ง่าย และไม่เด้งคืนตัวออกจากกระจกครับ
เสริมเพิ่มเติมว่า หลังจากเป่าฟิล์มด้วยไอร้อนเสร็จแล้ว เนื้อฟิล์มอาจมีการขยายตัวเล็กน้อย จึงควรตัดขอบเก็บรายละเอียดด้วยคัตเตอร์อีกครั้ง ให้ฟิล์มกรองแสงมีขนาดใกล้เคียงกับขนาดกระจกจริงมากที่สุดครับ

8. ม้วนเก็บฟิล์มออกจากกระจกด้านนอก เพื่อเตรียมติดตั้ง

เมื่อตัดชิ้นงาน (และเป่าฟิล์ม) เรียบร้อย ขั้นตอนนี้ง่ายนิดเดียว คือการม้วนฟิล์มออกมาเก็บไว้ก่อนเพื่อเตรียมสำหรับการติดตั้งในขั้นตอนถัดไป และแน่นอนว่าการม้วนฟิล์มเก็บให้กะทัดรัด จะช่วยรักษาชิ้นงานให้สวยงาม
และปลอดภัยกว่าการแผ่กางฟิล์มทิ้งไว้บนโต๊ะ  และยังสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายฟิล์มนำไปติดตั้งตามจุดต่างๆ อีกด้วยครับ

9. ฉีดน้ำยา Film-On เตรียมสภาพผิวกระจกด้านใน

การติดตั้งฟิล์มกรองแสงรถยนต์ จะทำการติดฟิล์มบนกระจกด้านในเท่านั้นนะครับ (หลายๆ ท่านเข้าใจว่าติดด้านนอกกัน แต่ถ้าทำแบบนั้นฟิล์มกรองแสงจะเกิดรอยขีดข่วนจากไม้ปัดน้ำฝน หรือสะเก็ดหินที่กระเด็นมาได้ครับ)
  โดยให้ฉีดน้ำยา Film-On (หรืออาจใช้น้ำผสมแชมพูอ่อน) ฉีดให้ทั่วบริเวณกระจกด้านใน เพื่อให้พื้นผิวกระจกเปียกชุ่ม ลื่น ลดแรงดูดระหว่างผิวกระจกกับฟิล์มกรองแสงก่อนติดตั้งครับ

10. เริ่มติดตั้งฟิล์มบนกระจก

ขั้นตอนนี้ เป็นการเริ่มนำแผ่นฟิล์มที่ม้วนเก็บไว้ มาคลี่ออก เตรียมติดตั้งลงบนกระจกจริงครับ โดยขั้นตอนการติดฟิล์มจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ลอก > ฉีด > วาง ทำต่อเนื่องกันไป
ขั้นตอนนี้ อาจดูเหมือนง่ายแต่จริงๆ ไม่ง่ายครับ หลายๆ ครั้ง ช่างติดฟิล์มมักจะ วางฟิล์ม > ลอกออก > ฉีดน้ำ > วางฟิล์มใหม่ แบบนี้วนไปหลายครั้ง จนกว่าจะมั่นใจจริงๆ ว่า ทั้งแผ่นฟิล์มกรองแสง และผืนกระจกต้อง
ไม่มีฝุ่น 100%
 เพื่อจะได้ไม่ต้องมาแก้ไขภายหลังจากที่กาวฟิล์มเซตตัวกับผิวกระจกไปแล้ว ซึ่งอาจหมายถึงต้อง ลอกออกเสียฟิล์ม จนต้องตัดและติดฟิล์มใหม่ตั้งแต่ต้น

11. รีดน้ำออกจากแผ่นฟิล์ม

หลังจากวางฟิล์มได้ตำแหน่งแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนการรีดน้ำออกจากแผ่นฟิล์ม ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนย่อยๆ เพื่อสามารถรีดน้ำได้อย่างสะอาดหมดจดที่สุด ดังนี้
การรีดน้ำในขั้นตอนนี้ จะใช้ยางรีดน้ำออกเพื่อให้รีดน้ำออกมาได้มากที่สุดในขั้นตอนนี้
การรีดน้ำในขั้นตอนนี้จะเป็นการรีดน้ำทีเหลืออยู่ตามจุดต่างๆ บนกระจก เทคนิคเพิ่มเติมในขั้นตอนนี้ ช่างจะใช้กระดาษทิชชู่หุ้มที่ปลายเกียง หรืออาจใช้เศษแผ่นไลเนอร์ที่ลอกออกจากฟิล์ม มาวางซ้อนก่อนใช้เกียงรีดฟิล์ม
เพื่อลดแรงเสียดสีกับเนื้อฟิล์ม ป้องกันไม่ให้ฟิล์มเป็นรอยขีดข่วนครับ

12. เช็ดด้วยผ้าสะอาด และเก็บรายละเอียดงาน

หลังรีดน้ำออกจากฟิล์มเสร็จ ช่างติดฟิล์มจะใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดอีกครั้ง เพื่อเก็บรายละเอียดงานที่ได้ติดตั้งไปว่าเรียบร้อยดีหรือไม่ แล้วตรวจเช็กตำแหน่งของฟิล์มเป็นขั้นสุดท้าย โดยเฉพาะการรีดฟองน้ำเล็ก ๆ ออกจาก
ขอบฟิล์มด้วย ‘ไม้โปรแทรกเตอร์” บริเวณขอบกระจกและมุมต่าง ๆ เป็นต้น
  • วิธีการติดตั้งฟิล์มกรองแสงกระจกบานข้าง
    การติดตั้งฟิล์มสำหรับกระจกบานข้าง
       หลังจากทำความสะอาดกระจกที่จะติดตั้งเรียบร้อยแล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
              1.1 นำแผ่นฟิล์มที่ตัดแบบรอไว้แล้ว ดึงแผ่นไลเนอร์ให้เผยอออกจากแผ่นฟิล์ม
              1.2 ฉีดน้ำยาติดตั้งฟิล์มลงบนแผ่นฟิล์มด้านที่เป็นกาวให้ทั่วทั้งแผ่น และกระจกที่จะติดตั้งด้วย
                  เช่นเดียวกัน
              1.3 นำแผ่นฟิล์มที่ฉีดน้ำยาแชมพูติดตั้งเข้ากับกระจกให้เรียบร้อยให้สอดมุมยัดเข้าร่องยาง
                  กระจก แล้วค่อยๆ ไล่จนฟิล์มเข้าไปในยางขอบกระจกทั้งหมด (ใช้เกรียงช่วยในการสอด)
              1.4 จัดแผ่นฟิล์มให้ได้ตำแหน่งตามต้องการแล้วฉีดน้ำยาติดตั้งฟิล์มให้ทั่วแผ่น(ฉีดเพื่อให้เกิด
                  ความลื่น) ใช้ยางรีดน้ำรีดแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน โดยเริ่มจากบริเวณส่วนกลางของกระจก
                  เพื่อเป็นการยึดฟิล์มไว้ก่อน (ให้ใช้มือประคองฟิล์มเพื่อป้องกันการเลื่อน
              1.5 ใช้ยางรีด รีดพื้นที่ในส่วนที่เหลือให้ทั่วทั้งแผ่น
              1.6 ใช้เกรียงรีดพลาสติก รีดน้ำส่วนขอบกระจกด้านล่างออกให้หมดแล้วทำการรีดน้ำเก็บงาน
                  ให้ทั่วทั้งบานควรใช้กระดาษทิชชู่หรือผ้าสะอาดรองเกียงทุกครั้งเพื่อป้องกันการเกิดรอย
                  หรือสามารถใช้แผ่นไลเนอร์ที่ลอกออกรองก็ได้
              1.7 ครวจสอบความเรียบร้อย เพื่อรอส่งมอบงานให้แก่ลูกค้า
  • วิธีการเป่าฟิล์มกรองแสงกระจกบังลมหน้า,หลัง
    วิธีการติดตั้งฟิล์มกรองแสง ของกระจกที่มีความโค้งนั้น จะต้องใช้ความร้อนในการทำให้เนื้อฟิล์มมีความยืดหยุ่นตัวจนสามารถโค้งแนบกับกระจกได้ ซึ่งมีอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ
    1.วิธีเป่าแบบ แห้ง
    2.วิธีเป่าแบบเปียก

   ขั้นตอนในการเตรียมงานก่อนเป่าฟิล์มสำหรับกระจกโค้ง

1.ทำความสะอาดกระจก ให้ใช้น้ำยาติดตั้งฟิล์มที่ผสมน้ำใส่ตัวฉีดน้ำ ฉีดให้ทั่วกระจก ภายนอก
2.ใช้ใบมีดขูดลอก,ขูดกระจกทั้งบานให้สะอาดทั่วทั้งบาน(ควรใช้ใบมีดใหม่ทุกครั้ง)
3.ใช้ยางรีด ปาดน้ำออกจากกระจกให้หมด
4.ใช้กระดาษทิชชู่ หรือผ้าสะอาดเช็คให้แห้ง
5..ตรวจดูความเรียบร้อย หากยังไม่สะอาดให้ทำซ้ำอีกครั้ง

 
 

1.วิธีเป่าแบบแห้ง

 
  1.ใช้แป้งฝุ่นทาให้ทั่งบริเวณของแผ่นกระจก ที่จะทำการเป่าฟิล์มด้วยความร้อนให้ทั่ว  
  2.ใช้น้ำยาติดฟิล์ม ฉีดใส่กระดาษชำระ ชุ่มพอประมาณ แล้วลูบบนกระจก เพื่อทำการแบ่งส่วนของฟิล์ม ที่จะทำการเป่า โดยทาที่กระจก เป็นลักษณะของรูปตัวH  
  3. ขออภัยที่เราจะขอให้ข้อมูลเพียงเท่านี้ หากสนใจสามารถมาลงเรียน กับทางโรงเรียนได้ ท่านจะได้เรียนรู้ เคล็ดลับ และเทคนิคที่ ไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ คะ  
  4.  
  5.  
  6.  
  7.  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขนาดฟิล์มกรองแสง กระจกบานหน้า

HONDA

Stepwagon 36″ X 60″
Brio เล็ก 33″x60″
City 2009 กลาง 35″x60″
Jazz 2009 เล็ก 38″x60″
Accord 2012 ใหญ่ 34″x60″
Accord 2016 ใหญ่ 36″x60″
Civic 2009 ใหญ่ 36″x60″
Civic 2020 ใหญ่ 33″x60″
city v+ 2018 กลาง 35″x60″
CRV 2017 36″x60″
CRV 32″x60″
CRV 2015 35″x60″
HR-V SUV 36″x60″
Freed MPV 39″x60″
Accord Hybrid 36″x60″
Brio Amaze  34″x60″

TOYOTA

Vios 2009  32″x60″
Vios 2014  32″x60″
Yaris 2009  34″x60″
Yaris 2020 31″x60″
Revo Smart Cab 28″x60″
Altis เก่า 33″x60″
Altis 2009 34″x60″
Seinta SUV 34″x60″
Fortuner 2011 SUV 28″X60″
Fortuner 2015-16 SUV 28″X60″
Fortuner 2020 SUV 27″x60
Avanza 2017 SUV 29″x60″
Avanza 2009 SUV 30″x60″
Hilux vigo champ กระบะ 30″x60″
Prius ใหญ่ 34″x60″
Soluna 2009 เล็ก 30″X60″
Wish 2009 MPV 40″x60″
Vigo กระบะ 30″x60″
Sport Cruiser SUV 29″x60″

MITSUBISHI

Triton กระบะ 30″x60″
Mirage ECO 34″x60″
Attrage กลาง 32″x60″
Lancer กลาง 33″x60″
Pajero Sport PPV 30″x60″
X-Pander SUV 37″x55″
Strada G wagon PPV
Lancer  34″x60″
space wagon SUV

NISSAN

Almera 30″x60″
Almera 2021 36×6
Sunny NEO กลาง 32″x60″
Ceifero A32 ใหญ่ 32″x60″
Ceifero ทางเรียบ ใหญ่ 32″x60″
Navara กระบะ 30″x60″
March 31″x60″
Sylphy กลาง
X-Trail SUV 33″x60″
Teana ใหญ่ 36″x60″
FronTier Navara กระบะ 30″x60″
Np 300 Navara กระบะ 30″x60″
Sunny NEO กลาง 32″x60″
SUZUKI Carry กระบะ 28″x60″
Ertiga MPV 34″x60″
Swift เล็ก 30″x60″

CHEVROLET

Captiva 2014 SUV 34″x60″
Captiva 2020 SUV 32″x60″
Sonic 5ประตู เล็ก 34″x60″

FORD

Everest Titanium PPV 33″x60″
Focus กลาง 35″x60″
Ranger กระบะ 33″x60″
Grand Carnival02017 MPV 35″x65″
MAZDA 3 (2019) ซีดาน กลาง 32″x60″

ISUZU

D-Max กระบะ 30″x60″
V-Cross ก.บ.4drs 29″x60″
D-Max 2015 กระบะ 32″x60″

MERCEDES-BENZ 

SLK-Class Sport 29″x60″
CLK Sport 30″x60″
GLE SUV 30″x60″

VOLVO

S 70 ใหญ่ 31″x60″
V 40 ใหญ่ 30″x60″
V 70 VAN 32″x60″
940 26″x60″
960 26″x60″
XC 60 SUV
XC 90 SUV 37″x60″
XC 40 33″x60″